จากการปรึกษาหารือของลีกกับผู้ตัดสินตลอดช่วงปิดฤดูกาลเกี่ยวกับประเด็นของ Take Fouls ทำให้ลีกได้ข้อสรุปว่าการเพิ่มบทลงโทษจากจังหวะฟาวล์ดังกล่าวจะส่งเสริมให้เกมมีคุณภาพมากขึ้น ทั้งในแง่ของการปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด และส่งเสริมให้เสน่ห์จากความรวดเร็วของกีฬาบาส จะถูกขัดจังหวะด้วยการตัดเกมน้อยลง
Take Fouls คืออะไร
เอ็นบีเอ ให้ความหมายของคำนี้ว่า “การทำฟาวล์โดยเจตนาของฝ่ายป้องกันเพื่อกีดกันทีมรุกจากโอกาสโต้กลับเร็ว” ถ้าเปรียบกับฟุตบอลก็จะคล้ายกับจังหวะตัดฟาวล์บริเวณกลางสนาม เพื่อไม่ให้อีกทีมสามารถสวนกลับเร็วได้นั่นเอง
แม้จะไม่ใช่การทำฟาวล์หรือเล่นนอกเกมที่รุนแรง แต่จังหวะก้ำกึ่งเช่นนี้ทำให้ทีมที่กำลังจะมีโอกาสบุกเสียประโยชน์อย่างมาก อีกส่วนสำคัญคือการทำให้ผู้ชมพลาดไฮไลท์ที่สวยงามและรู้สึกขัดใจเมื่อความต่อเนื่องของเกมต้องหยุดชะงักเพราะเสียงนกหวีดจากเจตนาการตัดเกมโดยทีมป้องกัน
ตัวอย่างวิดีโอ จังหวะ Take Fouls ของ NBA
NBA LEAGUE PASS สมัครเพื่อชมการแข่งขันเอ็นบีเอสดทุกนัดคลิก
ข้อกำหนดและบทลงโทษของจังหวะ Take Fouls
กฎการฟาวล์ใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อฝ่ายป้องกันไม่ได้อยู่ในสถานะครอบครองบอล และพยายามกีดกันหรือขัดขวางผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามไม่ให้เคลื่อนที่ในเกมรุก โดยจังหวะลักษณะนี้ของการแข่งขันบาสเกตบอลจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าฟุตบอล และด้วยระยะทางของสนามที่สั้นกว่าการเบรคเกมทำให้หลายครั้ง ทีมบุกเสียโอกาสที่จะทำคะแนนแบบง่าย ๆ ไปแบบอัตโนมัติ
บทลงโทษสำหรับการฟาวล์นี้ คือ ทีมบุกจะได้ชู้ตลูกโทษ 1 ลูก โดยสามารถเลือกผู้เล่นในสนาม 5 คนที่อยู่ณ ช่วงเวลาเกิดเหตุการณ์ฟาวล์มาชู้ตได้เลย และ หลังจากชู้ตลูกโทษแล้วทีมบุกจะได้ครอบครองบอลต่อ
อย่างไรก็ตามกฎนี้จะไม่ถูกบังคับใช้ในช่วง 2 นาทีสุดท้ายของควอเตอร์ที่ 4 และ 2 นาทีสุดท้ายของช่วงต่อเวลาพิเศษ สำหรับเหตุผลที่มีเงื่อนไขนี้ก็เพราะลีกยังต้องการให้ช่วงท้ายเกมมีความเข้มข้น โดยทีมที่เป็นฝ่ายไล่ตามหลังสามารถตีฟาวล์เพื่อสร้างโอกาสคัมแบ็คสู่เกมได้อยู่ เพราะการฟาวล์จะทำให้เวลาแข่งหยุดเดิน และอาจเป็นการฟาวล์เพื่อป้องกันการชู้ต 3 คะแนนในกรณีที่ทีมป้องกันนำอยู่ 3 แต้มในช่วงท้ายเกม
ประโยชน์ของกฎนี้คืออะไร
ในเชิงทฤษฎีการเพิ่มกติกานี้เข้ามาจะช่วยให้การดูเกมบาสเกตบอลสนุกและเร้าใจมากยิ่งขึ้น เพราะเดิมทีความสนุกของศึกยัดห่วงคือเกมที่รวดเร็ว จากรุกเป็นรับและรับเป็นรุกในช่วงเวลาไม่กี่วินาที ความต่อเนื่องและการควบคุมไม่ให้มีการเบรคจังหวะของเกมก็เพิ่มโอกาสที่จะทำให้เราได้เห็นการหลุดเดี่ยวไปโชว์ลูกดั๊งค์ หรือ ลีลาการแอลลี่ย์อู๊ปสวย ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น
look what happens when referees dont reward lazy defense by calling the take foul. https://t.co/MGG4RcgtFx
— Rob Perez (@WorldWideWob) September 3, 2022
นอกจากนั้นยังเป็นการช่วยเซฟผู้เล่นอารมณ์ร้อน เพราะถึงแม้การฟาวล์จังหวะเหล่านี้จะไม่รุนแรง แต่ในมุมมองของผู้เล่นหลายคนก็รู้สึกว่าพวกเขาถูกทำให้เสียโอกาสด้วยเจตนาที่ไม่ดี ซึ่งการฟาวล์เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นนี้อาจนำมาสู่เรื่องบานปลายได้เช่นกัน
ท้ายที่สุดคือ ผู้เล่นเกมรับของทุกทีมจะต้องยกระดับการเล่นเกมป้องกันของตัวเองขึ้นมา เพราะพวกเขาไม่สามารถไปคว้าใครมั่วซั่วได้ (หรือจะยอมแลกกับ 1 ลูกโทษฟรี ๆ)
และนี่คือตัวเลขของผู้เล่นที่เสีย Transition Take Fouls มากที่สุดเมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา สำหรับ รัสเซลล์ เวสต์บรูค ซึ่งเสียฟาวล์ในลักษณะตัดเกมมากที่สุด 59 ครั้ง สาเหตุก็เพราะเขามักจะชอบเสียเทิร์นโอเวอร์ แล้วทำให้ทีมตรงข้ามสามารถชิงจังหวะเล่นโต้กลับได้ เขาจึงมักตัดฟาวล์ตั้งแต่แดนคู่แข่งอยู่บ่อย ๆ
Players with the most "take fouls" last season:
— mathketball (@Mathketball1) July 13, 2022
1) Russell Westbrook - 59
2) Donovan Mitchell - 38
3) Mike Conley - 37
4) Jae'Sean Tate - 35
5) Bojan Bogdanovic - 34
6) Alec Burks - 32
7) Bones Hyland - 30
8) Seth Curry - 29
9) Miles Bridges - 28
10) Patrick Beverley - 27 https://t.co/GdrF5CmTRo