แม้ว่า ไมเคิล จอร์แดน จะไม่ได้ลงแข่งบาสเกตบอลอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2003 แต่มูลค่าการเซ็นสัญญากับแบรนด์รองเท้าของเขายังคงมีมูลค่าสูงสุดใน NBA ซึ่งดูแล้วเป็นตัวเลขที่ยากแก่การทำฃายอย่างมาก ด้วยชื่อเสียง ความสำเร็จ และ แบรนด์ที่ครองใจคนทั่วโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ครั้งหนึ่งการเปิดตัวรองเท้ารุ่นจอร์แดน นับเป็นการปูทางของการสร้างรายได้มหาศาลให้กับผู้เล่นรุ่นต่อๆมาทั้ง โคบี้ ไบรอันท์, เลบรอน เจมส์ ฯลฯ แต่ดูเหมือนยังไม่มีใครเทียบเคียง “เอ็มเจ” ได้เลยในแง่ของความเป็นเจ้าพ่อแห่งแบรนด์รองเท้ากีฬาบาสเกตบอล
เมื่อวัฒนธรรมรองของรองเท้าบาสเติบโตและกลายเป็นสินค้ากระแสหลัก บริษัทยักษ์ใหญ่ก็ได้ถอดบทเรียนจากเคสของจอร์แดน และพวกเขาหวังว่าจะได้เจอแจ็คพ็อตครั้งสำคัญในการตีตลาดรองเท้า แม้ว่าความสำเร็จอาจไม่มโหฬาร แต่พวกเขาก็ต้องเร่งมือแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดกันให้ได้มากที่สุด
ในขณะที่ฝั่งผู้เล่นการได้ดีลกับแบรน์รองเท้าจนได้ออกซิกเนเจอร์ของตัวเอง ก็เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความสำเร็จรูปแบบหนึ่ง ในฐานะซูเปอร์สตาร์ของ NBA รวมถึงการเพิ่มโอกาสโกยเงินเข้ากระเป๋าอีกทาง ซึ่งยั่งยืนกว่าสัญญาแบบผู้เล่นอีกด้วย
ถ้าหากจอร์แดนยังคือสุดยอดของดีลรองเท้าบาส แล้วใครคือเจ้าของข้อตกลงที่แพงสุดในปัจจุบัน ? The Sporting News รวบรวมไว้ให้คุณแล้วที่นี่
ใครสร้างรายได้จากข้อตกลงกับแบรนด์รองเท้ากีฬามากที่สุด (ต่อปี)
ผู้เล่น | แบรนด์ | รายได้ต่อปี |
Michael Jordan | Jordan Brand | $150,000,000 (5.7 พันล้านบาท) |
LeBron James | Nike | $32,000,000 (1.22 พันล้านบาท) |
Kevin Durant | Nike | $28,000,000 (1.06 พันล้านบาท) |
Stephen Curry | Under Armour | $20,000,000 (763 ล้านบาท) |
James Harden | Adidas | $14,000,000 (534 ล้านบาท) |
Zion Williamson | Jordan Brand | $12,000,000 (457 ล้านบาท) |
Dwyane Wade | Li-Ning | $12,000,000 (457 ล้านบาท) |
Giannis Antetokounmpo | Nike | $12,000,000 (457 ล้านบาท) |
Russell Westbrook | Jordan Brand | $11,000,000 (419 ล้านบาท) |
Kyrie Irving | Nike | $11,000,000 (419 ล้านบาท) |
ไมเคิล จอร์แดน
“เอ็มเจ” ยังคงสานต่อความเป็นตำนานของเขาในวงการบาสเกตบอล หลังจากแบรนด์ Air Jordan ของเขายังคงสร้างยอดขายมหาศาล 150 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (ประมาณ 5.7 พันล้านบาท) และถ้าหากนับเฉพาะรายได้หลังอำลาคอร์ทบาสเกตบอลของเขาจนถึงปัจจุบันก็พุ่งไปเกินกว่า 1.6 พันล้านเหรัียญสหรัฐฯ (ประมาณ 6.1 หมื่นล้านบาท)
Air Jordan ซึ่งเป็นแบรนด์ลูกของไนกี้ ประสบความสำเร็จอย่างมากเอาเฉพาะปี 2021 โกยเงินเข้าบริษัทราวๆ 4.7 พันล้านเหรียญ (1.8 หมื่นล้านบาท)
Michael Jordan turns 59 today.
— Boardroom (@boardroom) February 17, 2022
➖net worth: $1.6B
➖highest-earning athlete ever
➖world’s first billionaire athlete
➖Jordan Brand: $4.7B in 2021 revenue
➖deals: @Nike @CocaCola @McDonalds @chevrolet @Gatorade @Hanes + more
➖owner: @hornets @23XIRacing
Changed the game. 🐐 pic.twitter.com/0rinKIrD4L
ย้อนกลับไปปี 1984 จอร์แดน เซ็นสัญญาครั้งแรกกับไนกี้คราวนั้นข้อตกลงอยู่ที่ 500,000 เหรียญสหรัฐต่อปี (ราว 19 ล้านบาท) พร้อมกับส่วนแบ่งค่าลิขสิทธิ์จากยอดขาย แต่ปรากฏว่าส่วนแบ่งราว 5% ดันกลายเป็นเม็ดเงินมหาศาลทันทีที่แบรนด์เติบโตและครองใจคอสนีกเกอร์ทั่วโลกได้สำเร็จ
จากการคำนวนแบบง่ายๆ อดีตตำนานทีมชิคาโก้ บูลส์ รับส่วนแบ่งจากยอดขายรองเท้า 1 คู่อยู่ที่ประมาณ 10-12 เหรียญเท่านั้น (ประมาณ 380-457 บาท) แต่นั่นเพียงพอจะทำให้เขาร่ำรวยพอจะทิ้งห่างอันดับ 2 อย่าง เลบรอน เจมส์ มากถึง 4 เท่าด้วยกัน
เลบรอน เจมส์
เจมส์ ถูกมองว่าจะเป็นไมเคิล จอร์แดน คนต่อไปทั้งในแง่ความสำเร็จในสนามและความสำเร็จในเชิงธุรกิจ
และเหล่าแบรนด์รองเท้าทั้ง อาดิดาส และ รีบ็อค ต่างก็เคยยื่นข้อเสนอให้เขานับตั้งแต่ เลบรอน ยังเป็นผู้เล่นระดับมัธยมปลาย อย่างไรก็ตามสตาร์ดังของทีมเลกอร์สได้ปฏิเสธข้อเสนอเหล่านั้น และ เลือกเซ็นสัญญามูลค่า 90 ล้านเหรียญ (3.43 พันล้านบาท) กับไนกี้ ก่อนที่ต่อมาในปี 2016 เขาจะจรดปากกาในแบบสัญญาตลอดชีพกับไนกี้ และมีการเปิดเผยว่ามูลค่ารวมๆน่าจะเกิน 1 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 3.8 หมื่นล้านบาท)
เจมส์ ฮาร์เด้น
สัญญา 13 ปี มูลค่ารวม 200 ล้านเหรียญ (ประมาณ 7.6 พันล้านบาท) คือสิ่งที่ อาดิดาส ยื่นให้กับ ฮาร์เด้น พร้อมกับคำมั่นสัญญาว่าจะทำให้การ์ดเครางามรายนี้มีแบรนด์ลูกของตัวเองในหมวดสินค้ารองเท้าบาสเกตบอล และนั่นทำให้ไนกี้ ตัดสินใจไม่สู้ราคากับ ฮาร์เด้น ในท้ายที่สุด
โคบี้ ไบรอันท์
จากตารางที่เราแสดงให้เห็นก่อนหน้านี้อาจจะไม่มีชื่อของ โคบี้ เนื่องจากสัญญาของเขากับไนกี้ ได้หมดลงไปเมื่อปี 2021 โดยก่อนหน้านั้นสัญญาที่ไนกี้มอบให้แก่ตำนานผู้ล่วงลับอยู่ที่ราวๆ 16 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (ประมาณ 610 ล้านบาท)
อย่างไรก็ตามหลงัจากไม่มีข้อตกลงใดๆเกิดขึ้นตลอด 1 ปีที่ผ่านมา วาเนสซ่า ภรรยาของ โคบี้ ก็ได้เป็นตัวแทนในการเจรจากับไนกี้และได้บรรลุข้อตกลงใหม่เป็นที่เรียบร้อย แม้ว่าจะยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดให้ทราบ
สำหรับยอดขายรองเท้าของโคบี้ภายใต้แบรนด์ไนกี้ ในปี 2020 อยู่ที่ประมาณ 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 9.53 พันล้านบาท)
ดเวย์น เหวด
เหวด เริ่มต้นการเซ็นสัญญาแบรนด์รองเท้ากับ คอนเวิร์ส ซึ่งเขาได้มีรุ่นซิกเนเจอร์ของตัวเองด้วย ก่อนจะข้ามไปอยู่ร่วมค่ายจอร์แดน และท้ายที่สุดก็ไปรับสัญญาก้อนโตกับหลี่-หนิง แบรนด์รองเท้าของประเทศจีน
โดยทีแรกอดีตสตาร์ของทีมไมอามี่ ฮีต ได้รับสัญญา 8 ปี มูลค่า 10 ล้านเหรียญ (ประมาณ 381 ล้านบาท) แต่ในปี 2018 ได้มีการทำข้อตกลงใหม่ให้กลายเป็นสัญญาตลอดชีพ และ เหวดได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายแบรนด์ของ หลี่-หนิง และเจ้าตัวก็ได้ก่อตั้งแบรนด์ย่อยของตัวเองชื่อ Way of Wade ขึ้นมาอีกด้ว