หลังจากโกลเด้น สเตท วอริเออร์ส เอาชนะ บอสตัน เซลติกส์ ในรอบชิงชนะเลิศฤดูกาลล่าสุด ทำให้พวกเขาคว้าแชมป์ที่ 4 ในรอบ 8 ปี ผู้เล่นตัวเก๋าของทีมอย่าง อังเดร อิกัวดาล่า ก็เลยซูฮก สเตฟเฟ่น เคอร์รี่ ที่คว้าตำแหน่งผู้เล่นยอดเยี่ยมในรอบชิงฯ ว่าเป็นผู้เล่นที่แข็งแกร่ง และเป็นพ้อยต์การ์ดที่ดีที่สุดตลอดกาล
ซึ่งประโยคของ อิกัวดาล่า อาจทำให้แฟนลอสแองเจลลิส เลเกอร์ส ไม่เห็นด้วยเท่าไหร่นัก
ทุกครั้งที่มีการถกประเด็นหรือตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับตำแหน่งพ้อยต์การ์ดของลีก ชื่อของ เมจิค จอห์นสัน จะต้องลอยเข้ามาติดอยู่ในรายชื่อเหล่านั้นอยู่เสมอ หลังจากที่เจ้าตัวเลิกเล่นไปเมื่อปี 1996 เขาก็ครองตำแหน่งสุดยอดพ้อยต์การ์ดมาโดยตลอด ซึ่งคงไม่มีใครนึกภาพออกว่าจะมีผู้เล่นคนไหนมาท้าทายสถานะตำนานในตำแหน่งนี้
แต่ด้วยชื่อชั้นและผลงานของเคอร์รี่ ประกอบกับความเป็นไปได้ที่จอมแม่นระยะ 3 คะแนนรายนี้ ซึ่งยังเหลือเวลาในลีกอีกพักนึง สำหรับการสร้างความสำเร็จกับทีมหรือแม้แต่สถิติส่วนตัวให้เพิ่มมากขึ้น
ทำให้เป็นเรื่องที่แฟนบาสจะอดสงสัยว่า เคอร์รี่ อาจจะก้าวข้ามขึ้นไปเป็นที่สุดของการ์ดจ่ายแล้ว
เราจะมาลองสรุปให้ดูในแต่ละส่วนเลยว่า เมื่อเทียบสถิติต่อสถิติ ระหว่าง เมจิค จอห์นสัน กับ สเตฟเฟ่น เคอร์รี่ ใครจะเหนือกว่าใคร
*** (สถิติถูกเก็บรวบรวมก่อนวันที่ 16 กันยายน 2565)
สถิติช่วงฤดูกาลปกติ
มองกันตามเนื้อผ้า เคอร์รี่ คือยอดการ์ดที่มีความอันตรายในการทำคะแนน ไม่ใช่แค่ระยะ 3 แต้มที่สร้างชื่อให้กับเขาเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการเลี้ยงบอล การเข้าหาห่วงเพื่อนทำคะแนน และจุดที่โดดเด่นมากๆคือการเคลื่อนที่โดยไม่มีบอล (ออฟบอล) เพื่อฉีกหนีตัวประกบ
ส่วน จอห์นสัน คือผู้เล่นที่โดดเด่นในการสร้างแอสซิสต์และรีบาวด์ ด้วยรูปร่างที่สูง 6 ฟุต 9 นิ้ว และหนัก 215 ปอนด์ ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นประเภทครบเครื่อง ทำได้ทั้งแต้มและส่วนอื่นของเกม ส่งผลให้เขามีสถิติทำทริปเปิ้ล-ดับเบิ้ล มากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 โดยทำไว้ 138 ครั้ง เป็นรองแค่ รัสเซลล์ เวสต์บรูค (194) และ ออสการ์ โรเบิร์ทสัน (181)
Magic | Per Game | Curry |
19.5 | Points | 24.3 |
7.2 | Rebounds | 4.6 |
11.2 | Assists | 6.5 |
1.9 | Steals | 1.7 |
0.4 | Blocks | 0.2 |
3.9 | Turnovers | 3.1 |
36.7 | Minutes | 34.3 |
52.0 | Field goal % | 47.3 |
30.3 | 3-point % | 42.8 |
84.8 | Free throw % | 90.8 |
Magic | Totals | Curry |
906 | Games | 826 |
17,707 | Points | 20,064 |
6,559 | Rebounds | 3,838 |
10,141 | Assists | 5,388 |
1,724 | Steals | 1,367 |
374 | Blocks | 187 |
3,506 | Turnovers | 2,598 |
33,245 | Minutes | 28,361 |
สถิติช่วงฤดูกาลปกติด้วยตัวเลขเชิงลึก
ตลอดระยะเวลา 13 ฤดูกาล ดูเหมือนว่าเราจะได้เห็นช่องว่างใหญ่ ระหว่าง เมจิค กับ สเต๊ฟ นั่นคือ
Value Over Replacement และ Win shares ซึ่ง เคอร์รี่ ยังเหลือเวลาสำหรับการลดช่องว่างตรงนี้ลง
Magic | Advanced | Curry |
24.1 | Player Efficiency Rating | 23.8 |
80.0 | Value Over Replacement | 60.9 |
7.5 | Box Plus/Minus | 6.5 |
155.8 | Win Shares | 120.2 |
61.0 | True Shooting % | 62.4 |
22.3 | Usage % | 28.7 |
สถิติช่วงเพลย์ออฟ
ทั้ง จอห์นสัน และ เคอร์รี่ ต่างเป็นผู้เล่นในตำแหน่งพ้อยต์การ์ดที่มีผลงานยอดเยี่ยมในช่วงเพลย์ออฟ เพราะในขณะที่เคอร์รี่ มีตัวเลขการทำคะแนนที่สูงขึ้น เขายังรักษาระดับความแม่นของระยะ 3 คะแนนให้อยู่ใน 40% (เพราะอย่างที่รู้ว่ารอบนี้ เล่นกันค่อนข้างเหนียวแน่นกว่าช่วงฤดูกาลปกติ) ส่วน จอห์นสัน มีสถิติที่เพิ่มขึ้นทั้งรีบาวด์ และ แอสซิสต์
Magic | Playoffs Per Game | Curry |
19.5 | Points | 26.6 |
7.7 | Rebounds | 5.4 |
12.3 | Assists | 6.2 |
1.9 | Steals | 1.6 |
0.3 | Blocks | 0.3 |
3.7 | Turnovers | 3.3 |
39.7 | Minutes | 37.3 |
50.6 | Field goal % | 45.2 |
24.1 | 3-point % | 40.1 |
83.8 | Free throw % | 89.2 |
Magic | Playoff Totals | Curry |
190 | Games | 134 |
3,701 | Points | 3,570 |
1,465 | Rebounds | 719 |
2,346 | Assists | 833 |
358 | Steals | 210 |
64 | Blocks | 38 |
696 | Turnovers | 447 |
7,538 | Minutes | 4,999 |
สถิติช่วงเพลย์ออฟด้วยตัวเลขเชิงลึก
เมื่อดูสถิติเชิงลึก เราจะพบว่า เคอร์รี่ ก้าวข้าม เมจิค ได้ในเรื่อง PER ขณะที่ค่า Box Plus/Minus หรือ ค่าเฉลี่ยบวกหรือลบเมื่อผู้เล่นคนนี้อยู่ในสนาม ก็ตามหลังตำนานการ์ดของลีก ไม่มากนัก
Magic | Advanced | Curry |
23.0 | Player Efficiency Rating | 23.2 |
18.3 | Value Over Replacement | 11.4 |
7.6 | Box Plus/Minus | 7.1 |
32.6 | Win Shares | 20.3 |
59.5 | True Shooting % | 60.8 |
21.2 | Usage % | 29.7 |
สถิติความสำเร็จส่วนบุคคล
ไม่ต้องสงสัยว่า เมจิค นำหน้าเคอร์รี่ในหมวดหมู่นี้อยู่ทั้งหมด แต่ในอีก 3-4 ปีข้างหน้ามีความเป็นไปได้มากว่า เคอร์รี่ จะสามารถไล่ตามได้ โดยเฉพาะการติดออลสตาร์ และ ติดทีมยอดเยี่ยม ขณะที่แหวนแชมป์และตำแหน่งผู้เล่นทรงคุณค่า น่าจะเป็นเรื่องที่ต้องลุ้นและขึ้นอยู่กับทิศทางของทีม โกลเด้น สเตท วอริเออร์ส ด้วย
สำหรับการเทียบแชมป์ทำแต้ม แชมป์แอสซิสต์ และ แชมป์ขโมยบอล เรามองว่าเป็นเรื่องของจุดเด่นในแต่ละคน ซึ่งอาจจะไม่สามารถอธิบายถึงภาพรวมของคำว่าสุดยอดการ์ดที่ดีที่สุดตลอดกาลได้
Magic | Accolades | Curry |
5 | Championships | 4 |
3 | MVPs | 2 |
3 | Finals MVPs | 1 |
10 | All-NBA | 8 |
12 | All-Star | 8 |
0 | Scoring titles | 2 |
4 | Assist titles | 0 |
2 | Steal titles | 1 |