เทียบความต่าง : เด็กมาสคอตบอลนอก VS บอลไทย มีวิธีคัดเลือกต่างกันแค่ไหน

Songsak Srisuk

เทียบความต่าง : เด็กมาสคอตบอลนอก VS บอลไทย มีวิธีคัดเลือกต่างกันแค่ไหน image

เด็กมาสคอต (Player escort) องค์ประกอบสำคัญที่แฟนบอลมองข้ามกันมาโดยตลอดถูกจุดกระแสให้เป็นที่พูดถึงในสังคมวงกว้าง เมื่อเกมคู่ระหว่าง ไทย-เกาหลีใต้ มีการตั้งคำถามว่าสมาคมฟุตบอลเอาเกณฑ์อะไรมาคัดเลือกเด็ก ๆ จับมือนักเตะลงสนาม

แล้วถ้าเทียบกับฟุตบอลต่างประเทศอย่างพรีเมียร์ลีก, ฟุตบอลโลก หรือ ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก พวกเขาจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร ต่างจากบอลไทยมากน้อยแค่ไหน

เด็กมาสคอตมาจากไหน

จากประวัติศาสตร์โลกฟุตบอล เด็กมาสคอตเกิดขึ้นครั้งแรกในฟุตบอลลีกบราซิลเมื่อ รามอส โอลิเวียรา หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์สโมสร แอตเลติโอ มิเนโน เสนอให้จัดหาเด็กผู้ชายที่มีหน้าตาคล้ายนักเตะเดินลงสนามไปด้วยเพื่อเรียกกระแสให้แฟนบอล โดยเกมแรกที่มีการจูงเด็กมาสคอตลงสนามคือ แอตเลติโก มิเนโร เปิดบ้านพบ อเมริกา มิเนโร วันที่ 5 กันยายน 1976

จากนั้นก็มีการปรับปรุงเรื่อยมาจนกระทั่ง ยูโร 2000 ก็นับเป็นทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลระดับนานาชาติที่เริ่มใช้เด็กมาสคอตอย่างจริงจังจนถึงปัจจุบันโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชน

อยากเป็นเด็กมาสคอตต้องทำยังไง

เรื่องนี้ไม่มีหลักการตายตัวโดยจะขึ้นอยู่กับเป้าหมายของฝ่ายจัดการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น พรีเมียร์ลีก ซึ่งแต่ละสโมสรจะมีวิธีการคัดไม่เหมือนกันโดยแบ่งได้ 2 ประเภทคือ จ่ายเงินให้สโมสร และ ฟรี

โดยแบบแรกที่ต้องจ่ายเงินให้สโมสร ผู้ปกครองจะต้องทำเรื่องให้สโมสรเพื่อส่งบุตรหลานไปเป็นมาสคอตแล้วชำระเงินตามแพคเกจ จากนั้นก็จะได้ของรางวัลตามที่สโมสรจัดไว้ให้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยน ตัวอย่างสโมสรที่ใช้เกณฑ์นี้ เช่น ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์, เอฟเวอร์ตัน, เวสต์แฮม เป็นต้น

ส่วนสโมสรที่เด็กมาสคอตไม่เสียค่าใช้จ่าย ก็จะต้องสมัครเป็นสมาชิกสโมสรประเภทเยาวชนเสียก่อน แล้วจากนั้นจะทำการสุ่มชื่อผู้โชคดีก่อนการแข่งขันหนึ่งวันซึ่งบางสโมสรก็จะมีของแถมแจกฟรีหลังจบเกมเพื่อเอาใจอีกด้วย ตัวอย่างสโมสรที่ใช้เกณฑ์นี้ ได้แก่ อาร์เซนอล, ลิเวอร์พูล, เชลซี, แมนฯ ซิตี้ เป็นต้น

ขณะที่การแข่งขันอื่น ๆ อย่างเช่นฟุตบอลโลกก็จะมีเปิดรับสมัครเด็กมาสคอตจากทั่วทุกมุมโลกโดยเฉพาะซึ่งทางฟีฟ่า จะทำการพิจารณาคุณสมบัติให้เด็กที่ผ่านมาการคัดเลือกได้ลงสนาม หรือบางกรณีอาจเป็นการเปิดโอกาสให้กับเด็กยากไร้หรือพิการตามความเหมาะสม

เด็กมาสคอตบอลไทย

สำหรับฟุตบอลไทย การจะเป็นเด็กมาสคอตนั้นไม่ยากอย่างที่คิด โดยรูปแบบที่นิยมคือสโมสรจะเปิดรับสมัครตามประกาศแล้วจากนั้นพ่อแม่ก็พาลูกหลานมายื่นใบสมัครให้สโมสรพิจารณาก่อนจะทำการคัดเลือกซึ่งเด็กที่ผ่านก็อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ ยกตัวอย่างเช่น แบงค็อก ยูไนเต็ด, บางกอก เอฟซี, สงขลา เอฟซี เป็นต้น

หรือกรณีพิเศษ สโมสรก็จะหาเด็ก ๆ ในท้องถิ่นมาเป็นเด็กมาสคอตเองซะเลย อย่างเช่น บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ที่เปิดเป็นบางโอกาส หรือเปิดรับสมัครฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายเพียงแค่ทำตามกติกาของสโมสร เช่น เมืองทอง ยูไนเต็ด

แต่สำหรับทีมชาติไทยนั้นไม่มีเกณฑ์ตายตัวระบุไว้ว่าถ้าจะเป็นเด็กมาสคอตต้องทำอย่างไรบ้าง ซึ่งอาจเป็นไปได้ในหลายกรณีดังที่เล่ามาข้างต้นทั้ง จ่ายเงิน, ถูกคัดเลือก, ได้รับโอกาส เป็นต้น

ร่วมสนุกลุ้นรางวัลพร้อมโบนัสก้อนใหญ่

ลุ้นโชคที่นี่! ทายผลฟุตบอลประจำวันกับเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือที่สุด

ติดตามบทความและข่าวสารกีฬาอื่นๆของเรา

Facebook : https://www.facebook.com/TheSportingNewsTH
Instagram : https://www.instagram.com/thesportingnews_th
Tiktok : https://www.tiktok.com/@thesportingnewsthailand

Songsak Srisuk

Songsak Srisuk Photo

นักเขียน The Sporting News Thailand ที่อยากถามว่าคุณฟังวงอะไร? ผมฟังวง "ไปส่งกู บขส. ดู๊